empty
 
 

เศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาและค่าเงินดอลลาร์มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมัน

การประกาศเกี่ยวกับน้ำมันดิบคงเหลือในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคปิโตรเลียมรายสำคัญมีผลกระทบมากที่สุดต่อราคาน้ำมันในระยะสั้น การลดลงของปริมาณสำรองน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนบ่งชี้ว่าประเทศดังกล่าวรวมถึงประเทศอื่นบางประเทศในโลกกำลังผ่านพ้นภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ รายงานของสมาคมอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Industry Association - EIA) ที่ประกาศเกี่ยวกับปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่มีในปริมาณเยอะนั้น, ไม่ได้ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันรู้สึกแฮปปี้นัก

ปัจจัยอีกอย่างที่ผลักดันให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นคือการพึ่งพาของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โลกต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เช่นเดียวกับทองคำ, ปิโตรเลียมจะมีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรและค่าเงินอื่นที่สำคัญของโลก

ปริมาณการสกัดน้ำมัน

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา, ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1.6% การลดปริมาณผลผลิตน้ำมันมีการพูดถึงกันน้อยมาก อย่างไรก็ตาม, ยังมีประเด็นอื่นอีกมากที่ต้องพิจารณา ในปีที่ผ่านมา, การสกัดน้ำมันลดลงในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก นอร์เวย์ และอังกฤษ ประเทศเหล่านี้ได้ผ่านช่วงสูงสุดของการสกัดน้ำมันแล้ว ดังนั้นแนวโน้มของการลดลงจึงมีความรุนแรงขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกัน จากรายงานของ BP เกี่ยวกับการคาดการณ์ด้านพลังงานของโลกปี 2008 (BP World Energy Outlook 2008), ประเทศดังกล่าวคิดเป็น 17% ของปริมาณการสกัดน้ำมันในโลก สถานการณ์ที่อันตรายที่สุดเกิดขึ้นในประเทศนอร์เวย์และเม็กซิโกซึ่งผลผลิตน้ำมันลดลง 7.7% และ 5.5% ในปี 2007 ตามลำดับ ในปี 2009, ประเทศรัสเซียซึ่งผลิตน้ำมันในสัดส่วน 12.6% ของผลผลิตน้ำมันโลกจะประสมโรงกับประเทศดังกล่าวซึ่งมีผลผลิตน้ำมันลดลง การค้นหาแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ทางธรณีวิทยาในแถบไซบีเรียตะวันออกเป็นอันต้องหยุดไว้ก่อน ประสิทธิภาพในการค้นหาและสำรวจแหล่งสะสมน้ำมันในปัจจุบันมีค่าใกล้เคียงศูนย์ สถานการณ์นี้จะยังคงอยู่ต่อไปจนกว่าน้ำมันจะมีราคาในช่วง USD 60-70.

ดังนั้น ในปีหน้า ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญห้าประเทศจะลดอุปทานน้ำมันดิบ หากการสกัดน้ำมันในประเทศรัสเซีย สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก นอร์เวย์ และอังกฤษปรับลดลง 1%และกลุ่ม OPEC ตัดผลผลิตน้ำมันลง 12% ตามสัญญา (หรือแม้แต่ 10%), ผลผลิตน้ำมันในโลกจะลดลงราว 4.5-5% (หากประเทศอื่นยังคงสกัดน้ำมันในอัตราเดิม)

การลดลงของผลผลิตน้ำมันในครั้งนี้เทียบเคียงได้กับเหตุการณ์วิกฤตในการห้ามส่งน้ำมันในปี 1973 (1973 Oil Embargo crisis) เมื่อสมาชิกกลุ่มประเทศอาหรับบางประเทศของกลุ่ม OPEC ตัดสินใจหยุดส่งน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนประเทศอิสราเอลในสงคราม October War ในตอนนั้นผลผลิตน้ำมันโลกลดลง 4-5% และราคาต่อบาร์เรลเพิ่มขึ้นจาก USD 3 เป็น USD 9 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของผลผลิตน้ำมันที่ลดลงในช่วงเวลานั้นกับในตอนนี้เกิดขึ้นจากปัจจัยที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การบริโภคน้ำมันในปี 1973 มีการเติบโต แต่ในตอนนี้การบริโภคนั้นลดลง การลดลงของผลผลิตน้ำมันในปี 1973 เกิดจากวิกฤตทางการทหารและการเมือง แต่ในตอนนี้มันเกิดจากเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความเป็นเหตุเป็นผลอย่างสมบูรณ์ นั่นเป็นเหตุผลว่าการรอคอยให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ มันยังไม่เกิดประโยชน์ที่จะย้อนคิดถึงเหตุการณ์วิกฤตในการห้ามส่งน้ำมันในปี 1973 (1973 Oil Embargo crisis) เมื่อครั้งที่อิหร่านลดผลผลิตน้ำมันลง แม้กระนั้นก็ตาม, เหตุการณ์ในปี 1973 นั้นเกิดขึ้นพร้อมกับความเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลานั้น ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก USD 40 เป็น USD 110

ภายใต้สถานการณ์วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง, อุปทานน้ำมันอาจลดลงในอัตราที่เร็วกว่าอุปสงค์ซึ่งสนับสนุนโดยความต้องการของตลาดที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ EIA ได้ประกาศแล้วว่าในปี 2011 โลกมีความเสี่ยงต่อการประสบวิกฤตทางพลังงานเนื่องจากอุปทานน้ำมันที่ไม่เพียงพอ เหตุผลของ EIA นั้นเรียบง่ายมาก: การเพิ่มการผลิตพลังงานต้องการเม็ดเงินลงทุนราว USD 360 billion เนื่องด้วยภาวะวิกฤตทางการเงินและราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ, บริษัทต่างต้องการลดการลงทุนซึ่งอาจนำไปสู่การลดลงอย่างฉับพลันของผลผลิตน้ำมัน ความต้องการใช้น้ำมันจะฟื้นตัวแต่ผลผลิตน้ำมันกลับลดลงเนื่องจากบริษัทไม่ลงทุนในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์มากกว่าอุปทาน นอกจากนี้, ยังควรพิจารณาอีกว่าราคาน้ำมันนั้นขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิตน้ำมันด้วย ยุคราคาน้ำมันถูกได้สิ้นสุดลงแล้ว ต้นทุนในการสกัดน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกปี ต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตน้ำมันเท่ากับ USD 4-7 ต่อบาร์เรลในพื้นที่สกัดน้ำมันดั้งเดิม เช่น ประเทศรัสเซีย ต้นทุนของการสกัดน้ำมันในทะเลน้ำลึกเท่ากับ USD 20-40 ต่อบาร์เรล และยังต้องบวกเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น เราคาดว่าราคาน้ำมันที่ผู้ผลิตน้ำมันพอใจ (ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตน้ำมันได้ในอนาคต) น่าจะอยู่ที่ระดับ USD 60 ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันที่ต่ำเกินไปเป็นอุปสรรคต่อโครงการผลิตน้ำมันใหม่ในพื้นที่ที่ยากในการเข้าถึง

อนาคตของราคาน้ำมัน

ในปี 2009 ราคาน้ำมันอาจมีแนวโน้มฟื้นตัวอีกครั้งสู่ระดับที่เคยเกิดขึ้นจริงในปี 1998 นั่นหมายความว่าราคาน้ำมันอาจเพิ่มขึ้นสู่ระดับราคา USD 40-80 ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งแรกของปี, ตลาดจะยังคงได้รับอิทธิพลจากนักเก็งกำไร นั่นเป็นเหตุผลว่าราคาน้ำมันอาจซื้อขายอยู่ในระดับราคา USD 40-50 ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม, ราคาน้ำมันอาจลดลงชั่วคราวสู่ระดับราคา USD 20-25 ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งหลังของปี 2009, ตลาดจะเริ่มเห็นการส่งมอบน้ำมันที่ลดลง เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวหลังจากที่ตลาดเกิดภาวะช็อคในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 2008 นักลงทุนจะเริ่มรับรู้ว่าสินทรัพย์หลายอย่างนั้นมีแรงขายมากเกินไป (oversold) จากความตื่นตกใจ ภาวะขาดอุปทานน้ำมันจะเริ่มรุนแรงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นสู่ระดับ USD 50-70 ดังนั้น, มีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ USD 60 ในปี 2009 ราคาน้ำมันเป้าหมายในช่วงปลายปีเท่ากับ USD 65 ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม, การคาดการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องของอนาคต และมีเหตุการณ์อีกมากมายที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในตอนนี้และในอนาคต จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าแผนงานของ Obama จะประสบผลสำเร็จได้อย่างไร, ค่าเงินดอลลาร์จะมีเสถียรภาพหรือไม่อย่างไร, และหากภาวะถดถอยรอบใหม่ครอบงำเศรษฐกิจโลกล่ะ อย่างไรก็ตาม, รัฐบาลของประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลายประเทศได้พิจารณาทบทวนงบประมาณและราคาน้ำมันที่อาจต้องมีการปรับสำหรับการคาดการณ์ในสถานการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น

หากไม่สะดวกคุยในตอนนี้
ระบุคำถามไว้ได้ใน แชท.
Widget callback